Raccoon Game RPG รวมพลนักพัฒนา
ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Rpgvx_1024x768b

Join the forum, it's quick and easy

Raccoon Game RPG รวมพลนักพัฒนา
ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Rpgvx_1024x768b
Raccoon Game RPG รวมพลนักพัฒนา
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม

Go down

ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Empty ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม

ตั้งหัวข้อ by boyhit Thu Oct 13, 2011 5:49 am

บทความโดย วุ่นวายนะ™@beartai
ที่มา http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=53506.0


กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ มี 2 ชนิด คือ Bitmap และ Vector

กราฟิกแบบ Bitmap
Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆ
ที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution
หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap
จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือ
ส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
เนื่องจาก Bitmap มีค่า Pixel จำนวนคงที่จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการ
ขยายขนาดภาพ การเปลี่ยนขนาดภาพทำโดยเพิ่มหรือลด Pixel จากที่มีอยู่เดิม
เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจึงลดลง
และถ้าเพิ่มค่าความละเอียดมากขึ้นก็จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่และเปลืองเนื้อที่
หน่วยความจำมากขึ้นตามไปด้วย
ภาพที่ขยายโตขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน
ทำให้ขาดความสวยงาม
ภาพแบบ Bitmap จึงเหมาะสำหรับงานกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit หรือ true color
คือสีสมจริง เช่น ภาพที่นำมาใช้กับ PhotoShop จะเป็นภาพเหมือน ภาพถ่าย
เพราะไฟล์ที่ได้จาก PhotoShop เป็น Bitmap ในขณะที่ไฟล์ที่สร้างจาก Illustrator จะเหมือนการ์ตูนหรือภาพเขียน เพราะเป็นไฟล์แบบ Vector นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงาม
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ โปรแกรม Paint ต่างๆ เช่น Paintbrush, PhotoShop, Photostyler เป็นต้น

กราฟิกแบบ Vector
Vector เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรง
หรือส่วนโค้ง
โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณเป็นตัวสร้างภาพ
เป็นการรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ
เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic หรือ Object Oriented
ลักษณะเด่นของ Vector คือ
สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก
ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้ได้เหมือนเดิม
และยังสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง
เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย
และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap ภาพแบบ Vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD เป็นโปรแกรมสร้าง ขณะที่บนแมคอินทอชใช้ Illustrator และ Freehand
ในกรณีที่โปรแกรมที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถอ่านไฟล์แบบ Vector ต้นฉบับได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ บันทึกไฟล์เป็นนามสกุล .EPS
(Encapsulated Postscript) ไฟล์ประเภทนี้สร้างขึ้นจาก Vector
ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติเป็นแบบ Vector นอกจากนี้เราสามารถบันทึกไฟล์ Bitmap
ให้เป็นแบบ EPS ได้ เนื่องจากโปรแกรมกราฟิกทุกประเภทล้วนสนับสนุน ไฟล์แบบ
EPS ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์แสดงผล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix
หรือ Laser รวมทั้งจอภาพ จะแสดงผลแบบ Raster Devices หรือแสดงผลในรูปของ
Bitmap โดยอาศัยการรวมกันของ Pixel ออกมาเป็นรูป
แม้ว่าภาพกราฟิกที่สร้างจะเป็นแบบ Vector
เมื่อจะพิมพ์หรือแสดงภาพบนหน้าจอจะมีการเปลี่ยนเป็นการแสดงผลแบบ Bitmap
หรือเป็น Pixel

ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
Bitmap
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
4. แสดงภาพบนจอทันที เมื่อรับคำสั่งย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ

Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง) ต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า

ลักษณะและความหมายของ Pixel
ในโลกของกราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ Pixel
ถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ เป็นจุดเล็กๆ
ที่รวมกันทำให้เกิดภาพขึ้น ภาพหนึ่งจะประกอบด้วย Pixel หรือจุดมากมาย
ซึ่งแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดหนือ Pixel
เหล่านี้แตกต่างกันไป ความหนาแน่นของจุดนี้เป็นตัวบอกถึงความละเอียดของภาพ
โดยมีหน่วยเป็น ppi (Pixel Per Inch) คือ จำนวนจุดต่อนิ้ว
Pixel มีความสำคัญต่อการสร้างภาพของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกส่วนของกราฟิก
เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพนั้นเริ่มจาก Pixel ทั้งสิ้น
เมื่อเราขยายภาพจะเห็นเป็นภาพจุด
โดยปกติแล้ว
ภาพที่มีความละเอียดสูงหรือคุณภาพดีควรจะมีค่าความละเอียด 300 X 300 ppi
ขึ้นไป ยิ่งค่า ppi สูงขึ้นเท่าไร
ภาพก็จะมีความละเอียดคมชัดขึ้นมากขึ้นเท่านั้น ขณะเดียวกันจุดหรือ Pixel
แต่ละจุดก็จะแสดงคุณสมบัติทางสีให้แก่ภาพด้วย
โดยแต่ละจุดจะเป็นตัวสร้างสีประกอบกันเป็นภาพรวม
ซึ่งอาจมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้ ทำให้เกิดเป็นภาพที่มีสีสันต่างๆ
การแสดงผลของอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบ Dot-matrix หรือแบบ Laser รวมทั้งจอภาพ
จะเป็นการแสดงผลแบบ Raster Devices นั่นคือ อาศัยการรวมกันของ Pixel
ออกมาเป็นรูป


คุณสมบัติของนามสกุลไฟล์ภาพ

เนื่องจากโปรแกรม Photoshop จะมีรูปแบบการบันทึกข้อมูลของภาพค่อนข้างหลากหลาย (รวมถึงโปรแกรมประเภทเดียวกัน)
เพื่อใช้ในงานต่างๆกัน เพื่อนบางคนอาจยังไม่ทราบว่าเวลาที่เราบันทึก เราควรจะบันทึกใน Format ใดกันแน่ เดี๋ยววันนี้เรา
จะขออาสาพาท่านไปรู้จักกับชนิดไฟล์ที่คุณควรจะรู้ และจำใส่กบาลเอาไว้ หากคิดจะเป็นกราฟฟิคดีไซเนอร์ ก็จงรู้จักพื้นฐานก่อน

Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึก
แบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึก
ไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก

JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้
คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้
ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ
งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก
ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12K
ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนใบหน้าเริ่มเขียว อยู่ที่ 4K
คุณจะสังเกตเห็นความหยาบกร้านมากขึ้น
แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น
ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม 000661_9 ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม 000661_9

BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ
Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index
Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม
แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้

GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง
ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย
จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า
เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ
แต่มีคุณ-สมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif
Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซค์

ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Format03 ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Format04

ตัวอย่าง ไฟล์ที่ถูกบันทึกในรูปแบบ .gif มีความคมชัดหากเป็นไฟล์ที่มีสีตัดกันชัดเจน และไม่มีการไล่ระดับโทนสีมากนัก และยัง
ได้ขนาดไฟล์ที่โคตรเล็กอีกด้วย อย่างภาพสตรีคาบบุหรี่โลหิตมีขนาดเพียง 4K หากคุณบันทึกแบบ JPEG ด้วยความละเอียดที่
ยอมรับได้ จะมีขนาดประมาณ 7 - 8K แถมความคมกริบยังห่างกันอยู่บ้าง

TIFF (.tif)
นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform
จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK
เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์
เมื่อรู้เช่นนี้ น้องๆหลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่
ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ

EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม
Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path
หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะ Rastor สนับสนุนโหมด Lab,
CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap

PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ
32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี
สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB เท่านั้นค่ะ

PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์
สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้
และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี
มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว

RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก
เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ"
หมายถึงไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน
แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน
ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิดไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่
เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบ
RAW ได้เท่านั้น



ความหมายของสกุล GIF, TIFF, JPEG, BMP

.BMP เป็นไฟล์มาตรฐานที่ระบบปฏิบัติการ Windows
สร้างขึ้นมาเป็นไฟล์ที่สามารถรักษาความละเอียดของภาพได้เป็นอย่างดี
แต่มีข้อจำกัด คือ ไฟล์นั้นจะมีขนาดใหญ่นำมาใช้งานไม่สะดวก

.JPG
เป็นไฟล์ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบสูญเสียข้อมูล ภาพที่ได้นำมาใช้งานทั่ว ๆ
ไป ไฟล์ประเภทนี้จะตัดรายละเอียดของภาพบางส่วนออก
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ไม่สามารถมองเห็นสีได้มากนัก
เหมาะสำหรับเก็บไว้ดูหรือนำไปลงอินเทอร์เน็ต

.GIF เป็นไฟล์ที่มีการบีบอัดข้อมูลสูง
แต่จะให้ความละเอียดของภาพมากกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กมาก
มักนำมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด เพราะไฟล์ที่มีขนาดเล็ก
ทำให้ไม่เสียเวลาในการเปิดหน้าเว็บไซต์ที่มีรูปภาพประกอบได้ในเวลาอันรวด
เร็ว

.PSD เป็นไฟล์ที่เกิดจากโปรแกรมตกแต่งรูปภาพคือ
Photoshop ไฟล์ประเภทสามารถแก้ไขได้ง่าย เพราะมีการทำงานเป็นเลเยอร์
มีข้อจำกัดคือมีไฟล์ขนาดใหญ่ และสามารถเปิดได้กับโปรแกรม Photoshop
อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเปิดกับโปรแกรมจัดการรูปภาพอื่น ๆ ได้

.TIF
เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่
สามารถแสดงผลความละเอียดของภาพได้ทุกระดับ ตั้งแต่ภาพขาวดำไปจนถึงภาพสี
ซึ่งจะนำไปใช้กับงานทางด้านการพิมพ์ สามารถใช้ได้กับทั้งเครื่อง MAC และ PC
โปรแกรมที่ใช้ ตัวอย่างเช่น PageMaker

.PNG เป็นไฟล์ที่มีความยืดหยุ่นสูง
ใช้งานได้กับเครื่องที่มีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการทำงาน
และสามารถทำงานอยู่บนคนละระบบปฏิบัติการ เช่น Linux และ Windows
จะเห็นได้ว่าไฟล์แต่ละประเภทนั้น
มีลักษณะการทำงานและการบีบอัดไฟล์ที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งาน
และ ความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการไฟล์แบบใด

รูปแบบไฟล์กราฟิก

ไฟล์กราฟิกแบ่งเป็นหลายรูปแบบ
แต่ที่นิยมใช้กันมากในงานกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เช่น GIF และ JPEG
สำหรับงานพิมพ์ เช่น TIFF, EPS และ PDF

กราฟิกสำหรับงานเว็บไซต์ GIF (Graphic Interchange Format)

รูปแบบไฟล์ GIF ได้รับการออกแบบโดย CompuServe
ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายข่าวสารแบบออนไลน์
เพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนกราฟิกในรูปแบบ bitmap
ที่มีการจัดการทางด้านหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดของภาพแบบ GIF
คือ ความสามารถทางด้านสีซึ่งเป็นแผงสีแบบอินเด็กซ์ (ภาพสีแบบ 24
บิตไม่สามารถใช้ได้) แผงสีสามารถบรรจุได้ 2 ถึง 256 สี
ซึ่งถูกสร้างจากข้อมูลสี 24 บิต ไฟล์แบบ GIF ถูกบีบขนาดโดยใช้การบีบขนาด
LZW แบบประยุกต์ การขยายไฟล์ข้อมูลแบบ GIF กลับคืน จะช้ากว่าการบีบขนาดแบบ
RLE แต่จะเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำน้อยกว่า

รูปแบบไฟล์ GIF เป็นภาพซึ่งใช้สีจำกัด (ไม่เกิน 256 สี
ไม่ใช้ทั้งหมดของสเปกตรัมสีที่แสดงได้บนมอนิเตอร์)
เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการไฟล์ขนาดเล็ก โหลดเร็ว
ไฟล์แบบนี้จึงเหมาะกับงานที่ใช้สีแบบ solid color เช่น โลโก้ หรือ ภาพแบบ
Illustration Graphic Interchange Format นามสกุลที่ใช้เก็บ GIF
ระบบปฏิบัติการ Windows , Windows NT
เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 87a และ 89a
ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไข bitmap ทุกโปรแกรม, โปรแกรม
Desktop Publishing เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32
ความสามารถทางด้านสี แผงสีแบบอินเด็กซ์ถึง 256 สี (วาดจากสี RGB แบบ 24
บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW การใส่รหัสแบบ run-length


JPEG (Joint Photographic Experts Group)

มาตรฐานการบีบขนาดแบบ JPEG
ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ โดยเฉพาะ
แต่ได้นำเสนอวิธีการบีบขนาดที่สามารถใช้ทั่วๆ ไปหลายวิธี
ดังนั้นจึงมีการบีบขนาดหลายวิธีที่เกิดขึ้นมาโดยใช้มาตรฐานการบีบขนาดแบบ
JPEG
การบีบขนาดด้วยวิธีนี้ช่วยลดขนาดของภาพกราฟิกและประหยัดเวลาในการโหลดได้มาก
เหลือเพียงหนึ่งในสิบของภาพเดิม และบางครั้งสามารถลดขนาดลงได้มากถึง 100
ต่อ 1

JPEG
เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง)
เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสีที่มีในมอนิเตอร์
และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ
GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น
JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก
ถ้าต้องการใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น
แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้ Joint Photographic
Experts Group นามสกุลที่ใช้เก็บ JPG หรือ JIF (JPG + TIFF)
ระบบปฏิบัติการ Windows
ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไขภาพ Bitmap
และโปรแกรมการแปลงรูปแบบ เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee
32 ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32
บิต


กราฟิกสำหรับงานพิมพ์ TIFF (Tagged Image File Format)

TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น
พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF
เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field
จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field
สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้
ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field
ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้

TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น
สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field
ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ
ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ
และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF
ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้
และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File
Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows
เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0
ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม Desktop
Publishing เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop,
PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต, Grayscale (4,8, 16 บิต),
แผงสี (ได้ถึง 16 บิต), สี RGB (ได้ถึง 48 บิต), สี CMYK (ได้ถึง 32 บิต)
การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE
หลายรูปแบบ


EPS (Encapsulated PostScript)

EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ
PostScript
ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ
EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อน และมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector
และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop
Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ
จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น
เพราะเครื่องพิมพ์ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้ Encapsulated
PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS
ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windows
เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe
PostScript ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Vector และโปรแกรม
Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW, PageMaker, QuarkXPress,
Adobe Illustrator
ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGB และ HSB 32 บิต, CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์


การบีบขนาดข้อมูล การใส่รหัสแบบไบนารี

PDF (Portable Document Format)
PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม Adobe Acrobat
ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น
บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ
เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร เช่น โบร์ชัวร์ หรือ
แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap และ Vector
และสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
PDF
เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบ
อักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ
PostScript ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ
โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ
Illustration หรือ Bitmap ได้อีกด้วย และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ
ไม่ว่าจะใช้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector
อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูล
PostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ โปรแกรมประเภท
Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS Portable Document Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos
ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ PhotoShop, Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB,
Indexed-Color, CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap Color



ความแตกต่างระหว่าง GIF / JPEG / PNG / TIFF

สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำกราฟิกอาจยังไม่คุ้นเคยกับนามสกุลต่าง ๆ
ของไฟล์ภาพ ทำไมนามสกุลถึงไม่เหมือนกัน
และแต่ละนามสกุลเหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน
มาเรียนรู้ความแตกต่างของแต่ละนามสกุลในเบื้องต้นกันเลยดีกว่า

GIF มาจาก Graphics Interlace File
* ภาพที่ไม่ต้องการความคมชัดมากนัก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก
* ต้องการพื้นแบบโปร่งใส
* ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด
* ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
* ส่วนขยายคือ .gif

JPEG มาจาก Joint Photographer's Experts Group
* ภาพที่ต้องการความคมชัดสูง มีสีมาก
* เหมาะสมกับการนำเสนอทั้งระบบสื่อมัลติมีเดีย และเว็บไซต์
* สามารถกำหนดขนาดของไฟล์ได้ตามความเหมาะสม (File Compression)
* สามารถกำหนดคุณสมบัติการแสดงผลแบบหยาบ แล้วค่อยๆ ละเอียดเมื่อเวลาผ่านไป ที่เรียกว่าคุณสมบัติ Progressive
* ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .jpg หรือ .jpeg

PNG มาจาก Portable Network Graphics
* ภาพที่ต้องการความคมชัดสูง
* รูปแบบล่าสุดในการนำเสนอภาพผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
* สามารถแสดงผลได้ในระบบสีเต็มพิกัด (True Color)
* มีขนาดไฟล์เล็ก และควบคุมคุณภาพได้ตามที่ต้องการ
* มีการกำหนดให้พื้นภาพเป็นพื้นโปร่งใสได้ (Transparent)
* แสดงผลแบบหยาบสู่ละเอียด (Interlaced)
* ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .png

TIFF มาจาก Tagged-Image File Format
* รูปแบบที่ใช้เก็บภาพพร้อมรายละเอียดต่างๆ เช่น เลเยอร์ (Layer), Annotation, โหมดภาพทั้งระบบ
* CMYK, RGB, Lab Color ตลอดจนข้อมูลประกอบอื่นๆ ตามต้นฉบับเดิมของภาพ
* เหมาะสมต่อการเก็บบันทึกภาพต้นฉบับ และภาพสำหรับใช้ประกอบการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์
* ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .tif


ข้อมูล :
หนังสือ รวมคลิปอาร์ท (Universal Cliparts) Vol.2 : http://www.yupparaj.ac.th/CAI/graphic/graphic.html
41129kridsada : http://learners.in.th/blog/41129kridsada/163859
แดงคนดี : http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=13767.0
http://www.stks.or.th/
boyhit
boyhit
Admin
Admin

ชื่อเล่น : เเอล
ความฝัน : ศิลปิน
จำนวนข้อความ : 1130
เครดิต : 3356
วันที่สมัคร : 09/10/2011
คะเเนนน้ำใจ : 11
เพศ : Male อายุ : 24
เหรียญรางวัล : ความแตกต่าง นามสกุลไฟล์รูปภาพในคอม Medalhead2

https://raccoongame-rpg.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ